หลักสูตร อันตรายจากเสียงดังและมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบการ (Hearing Conservation Program )
หลักการและเหตุผล
“เสียงที่เป็นอันตราย” องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบลเอที่ทุกความถี่ โดยส่วนใหญ่พบว่าโรงงานอุตสาหกรรมมีระดับเสียงที่ดังเกินมากกว่า 85 เดซิเบลเอเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ เช่น โรงงานทอผ้า โรงเลื่อยไม้ โรงงานปั๊มโลหะ ฯลฯ พนักงาน ต้องสัมผัสกับเสียงดังตลอดระยะเวลาการทำงาน ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินและผลเสียอื่นๆต่อร่างกายได้
จากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา กำหนดให้สถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป จัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร จัดให้มีการเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียง จัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยิน รวมถึงการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานที่สัมผัสเสียงดัง ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงตอบสนองทั้งทางกฎหมายและความปลอดภัยในการทำงานเป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะสามารถมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากเสียงดัง
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถชี้บ่งและวิเคราะห์อันตรายจากเสียงดัง
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเลือกใช้ PPE รวมถึงใช้งานและบำรุงรักษาได้อย่างเหมาะสม
หัวข้อการอบรม
สาระสำคัญของหลักสูตร
- การชี้บ่งอันตรายจากเสียงในพื้นที่การทำงาน
- อันตรายจากเสียงดังที่มีผลต่อคนทำงาน
- มาตรการอนุรักษ์การได้ยินตามที่กฎหมายกำหนด
การประเมินผลการอบรมผ่านการทดสอบหลังอบรม ≥ 60%
กำหนดการ
08.45-09.00 น. - ลงทะเบียน / ทดสอบก่อนอบรม
09.00-10.30 น. - อันตรายจากเสียงดังที่มีผลต่อคนทำงาน
- ที่เกี่ยวข้อง
- หลักการทั่วไปในการลด/ควบคุมเสียงในพื้นที่การทำงาน
10.30-10.45 น. - พักเบรก