หลักสูตร พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพของการทำงาน

หลักการและเหตุผล

     “Creative Thinking หรือ ระบบความคิดสร้างสรรค์” ที่ไม่ได้หมายถึงการคิดประดิษฐ์นวัตกรรม หรือสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่คือระบบวิธีคิดเรื่องต่างๆ ได้หลากหลายแง่มุม หรือ การขยายความคิดให้สามารถจัดการเรื่องราวธรรมดาให้มีความแตกต่างและก้าวหน้าจนสำเร็จ  และยิ่งในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านบุคคล สังคม โครงสร้างของสังคมกลายมาเป็นความท้าทายต่อการบริหารงานในปัจจุบัน องค์กรยุคใหม่จำเป็นต้องมีความกล้าที่จะปรับกระบวนการคิดเดิม เพื่อให้เกิดศักยภาพการทำงานที่ได้ประสิทธิผลด้วยวิธีที่หลากหลายขึ้น รวมถึง เปลี่ยนทัศนคติการทำงานอย่างมีส่วนร่วมมากขึ้นของทุกคนในองค์กร

     หลักสูตร “พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพของการทำงาน”  คือการนำสมองทั้งสองซีกมาใช้ทำงานให้สอดประสานกลมกลืนกันอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้ท่านหรือบุคลากรในองค์กร ได้เรียนรู้การทำงานของสมองซีกขวา ได้ฝึกคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน  ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด ๆ เพราะความคิดสร้างสรรค์สร้างได้  หากรู้วิธีคิดที่เป็นระบบและสามารถตรวจสอบวัดผลได้แบบสมองซีกซ้าย  ย่อมนำไปประยุกต์ใช้ในหน้าที่ที่รับผิดชอบในงาน และ สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและการเติบโตขององค์กรอย่างมีคุณภาพ

 

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นประโยชน์การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้กับการทำงานเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การใช้สมองทั้ง 2 ซีกมาทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ

 

หัวข้อการอบรม :

Module # 1  การปรับ Mindset

  1. เรียนรู้ธรรมชาติการทำงานของสมองทั้งสองซีกของเรา
  2. เรียนรู้พฤติกรรมมนุษย์กับการใช้สมอง
  3. เรียนรู้การปรับ Mindset เรื่องการคิดสร้างสรรค์
  4. Workshop ค้นหาตัวตนเพื่อการปรับ Mindset

 

Module # 2  ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์Creative Thinking

  1. เรียนรู้  4 ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
  2. เรียนรู้ประโยชน์ของการคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
  3. Workshop นำความคิดสร้างสรรค์ประยุกต์ในการทำงาน

 

Module # 3  กระบวนการคิดสร้างสรรค์ที่เป็นระบบ Creative Thinking Process

  1. เรียนรู้ 5 จิตแห่งการพัฒนา
  2. เรียนรู้การประเมินการทำงานในแต่ละหน้าที่ด้วย Ideal Performance และ Actual Performance
  3. เรียนรู้ ทำไมต้องคิดนอกกรอบ และเครื่องมือในการคิดนอกกรอบ
  4. Workshop การคิดนอกกรอบ
  5. เรียนรู้ เทคนิคการคิดสร้างสรรค์
  6. เรียนรู้ เครื่องมือวัดประสิทธิภาพการคิดสร้างสรรค์
  7. Workshop เพื่อการต่อยอดการเรียนรู้
  8. เรียนรู้ หลุมพรางของความคิดสร้างสรรค์
  9. กิจกรรม “คำมั่นสัญญา” นำความรู้ไปใช้จริงในงานที่ทำ
  10. สรุป ถาม-ตอบ

 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรในองค์กร

 

รูปแบบการสัมมนา :

  • บรรยายแบบมีส่วนร่วม(ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง)                                   40 %
  • กิจกรรมกลุ่ม WorkShop  อภิปรายผลงานกลุ่ม                                60 %

 

ระยะเวลาอบรม :

  •  จำนวน 1 วัน ต่อ ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.
  •  ผู้เข้าอบรม 30-35ต่อรุ่น เพื่อประสิทธิภาพในการอบรม
Visitors: 155,015