บทบาทของหัวหน้างานยุค 4.0


            เมื่ออายุงานมากขึ้น  มีผลงาน  มีประสบการณ์ ทีความรู้ที่สามารถในงานเพิ่มขึ้น ผู้บริหารจึงเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะเลื่อนตำแหน่ง เพื่อมาบริหารงาน บริหารคน ให้ได้ผลงานตามเป้าหมายขององค์กร  และนั้นหมายถึง ความรับผิดชอบที่สูงขึ้น  ในยุคนี้ นอกจากทักษะเรื่องการวางแผนงาน  การสอนงาน การแก้ไขตัดสินใจกับปัญหา หรืออีกหลาย ๆ ทักษะอีกมากมายที่ต้องมีในตัวหัวหน้างาน  บทบาทหลักที่สำคัญช่วงนี้ น่าจะมี 3 เรื่อง

          จากเดิมที่คอยรับคำสั่ง ทำงานจนแล้วเสร็จตามที่หัวหน้างานมอบหมาย  แต่ถ้าเป็นหัวหน้างาน เรามีลูกน้อง เราต้องมีทีมงาน มีลูกน้องให้ดูแล และยังต้องมีความเป็นผู้นำที่จะต้องโน้มน้าวใจลูกน้องให้เต็มใจทำงานร่วมกับเรา  ให้ทีมงานทำงานด้วยความราบรื่น  ไม่ควรมีวาจาเป็นอาวุธ  ลูกน้องทำดีไม่เคยจำ แต่พอทำพลาดไม่เคยลืม จุดเดือดต่ำ ฟิวส์ขาดง่าย  เราต้องสร้างศรัทธา  การยอมรับในตัวเรา นี่คือบทบาทสำคัญของหัวหน้างาน ไม่ใช่ให้ลูกน้องกลัวโดยตำแหน่ง แต่จงให้ลูกน้องอยากทำงานด้วยความเต็มใจด้วยความเลื่อมใส

 

          หัวหน้างานบางคนไม่ชอบสอนงาน  บางทีให้ลูกน้องไปอ่านวิธีการทำงานเอง และไม่เอาใจใส่ลูกน้อง พอเขาทำผิดก็โทษลูกน้อง  หารู้ไม่ว่า คนสำคัญ คือ ตัวหัวหน้าที่บกพร่องในหน้าที่การสอนงาน   หากเราไม่สอนลูกน้องก็จะทำงานได้แบบจำ ไม่ได้ทำงานแบบเข้าใจ  งานก็จะผิดพลาดไม่เว้นแต่ละวันแน่นอน  หัวหน้างานที่ดีต้องเป็นครู ที่จะต้องสอนงาน ถ่ายทอดงานให้ลูกน้องเข้าใจ และทำงานได้อย่างสบายใจ  หัวหน้าก็สบายใจไม่ต้องมีงานผิดพลาด

           นอกจากบทบาทของการเป็นผู้นำที่ดี  เป็นครูผู้สอนงาน เราจะต้องมีบทบาทเป็นที่ปรึกษา ในคือหัวหน้างานต้องพร้อมที่จะให้คำปรึกษากับลูกน้อง แม้แต่เรื่องที่ไม่ใช่งาน เช่น เรื่องครอบครัว เรื่องเพื่อน แต่ตามสมควร และต้องเก็บเป็นความลับให้ลูกน้องด้วย    ในการที่เราต้องให้เวลาลูกน้องในการให้คำปรึกษาไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม เพราะปัญหาส่วนตัวมักทำให้เกิดผลกระทบกับงาน   หัวหน้างานทีดีจึงต้องเป็นที่ปรึกษาให้ทีมงานด้วยเช่นกัน

Visitors: 155,016