หลักสูตร เทคนิคการวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่หน้างาน (Problem Solving & Decision Making)

หลักการและเหตุผล :

          การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการสร้างผลกำไรและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของผู้ประกอบการทั้งด้านการผลิตและบริการ  การให้ผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รู้จักเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มี ประสิทธิภาพ มีการเตรียมการสำหรับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากที่ได้ทำการ ตัดสินใจไปแล้ว ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เช่นลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไขการรอคอยงานการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้ เป็นต้น

            หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
  2. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
  3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง
    เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม
    เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ ให้เกิดขึ้นจากบุคคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
  4. เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
  5. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

 

หัวข้อการอบรม :

  1. การมองปัญหาของแต่ละบุคคล
  2. ปัญหาที่เกิดจากการสื่อสาร
  3. ความเป็นมาและความหมายของเครื่องมือคุณภาพ
  4. บทบาทสำคัญของผู้บังคับบัญชาในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา  
  5. กระบวนการคิดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหา 
  6. เกี่ยวกับปัญหา และการตัดสินใจ
  • ปัญหา คืออะไร / สาเหตุหลักของปัญหา
  • การตัดสินใจ คืออะไร / ประเภทของการตัดสินใจ
  • กระบวนการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ   
  • การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
  • การออกแบบการแก้ไขปัญหา (Design Phase)
  • การตัดสินใจเลือกวิธีที่จะแก้ปัญหา (Decision Making)
  • การนำไปปฏิบัติ (Implementation Phase)
  • การตรวจสอบ (Monitoring Phase)
  • เครื่องมือในการวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์รากเหง้าปัญหา
  • แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
  • Workshop การค้นหาปัญหาและกระบวนการแก้ไข

 

กลุ่มเป้าหมาย : หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

 

รูปแบบการสัมมนา :

  • การบรรยาย                                                                               40 %
  • เกม/ กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม            50 %
  • กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์                                                              10 %

 

ระยะเวลาอบรม :

  • จำนวน 1 วัน ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.
  •  ผู้เข้าอบรม 30-35 ท่าน  ต่อรุ่น
Visitors: 155,025