หลักสูตร ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรในโรงงาน (Work Safety with machine and equipment)

หลักการและเหตุผล

            สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานในโรงงานคือ “ความปลอดภัย”  โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการขนย้ายเครื่องจักร ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการทำงาน  หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องมือ  เครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและไม่เป็นตามมาตรฐานที่กำหนดไว้    ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน  เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลง
             เครื่องจักรหรือเครื่องมือในโรงงานจัดเป็นเครื่องทุ่นแรงของผู้ปฏิบัติงานที่สำคัญ   และสามารถช่วยให้ทำงานได้ตามความต้องการ  ประหยัดเวลา  แรงงานและทำงานได้หลายอย่าง   แต่หากไม่รู้จักใช้ให้ถูกต้องและระมัดระวังอันตรายจากเครื่องมือ  เครื่องจักรก็มีมากพอ ๆ กับประโยชน์นั้นเอง เพื่อให้อุบัติเหตุในการปฏิบัติงานเป็นศูนย์  และลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย เพื่อลดผลกระทบ กระเทือนต่อการทำงาน ที่จะทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ จากการเกิดอุบัติเหตุ

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจถึงความสำคัญของความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรในการทำงาน
  2. เพื่อสร้างแนวคิดการป้องกันและแก้ไขปัญหา ของความไม่ปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร ที่ถูกต้อง
  3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง ข้อควรระวัง และพัฒนาหน่วยงาน ด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานให้เกิดความปลอดภัยในองค์กร

หัวข้อการอบรม

1.ความปลอดภัยและความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน

2.สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร

     2.1 โครงสร้างสาเหตุของการเกิดความไม่ปลอดภัย

     2.2 จุดอันตรายของเครื่องมือและเครื่องจักร แบบต่างๆ

     2.3 พฤติกรรมของความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน

 

 

3.  แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ

    3.1 การตรวจความปลอดภัยที่หน้างาน

    3.2การค้นหาจุดเสี่ยงและแนวทางการแก้ไข

    3.3 การวิเคราะห์ความปลอดภัยที่หน้างานด้วยหลัก 3 จริง

4. กฎแห่งความปลอดภัยในการทำงาน

  1. ข้อควรปฏิบัติตามข้อบังคับการใช้เครื่องมือให้ปลอดภัย

6. ประเภทของเครื่องจักรที่ทำให้เกิดอันตราย

          6.1 อันตรายเชิงกล

          6.2 อันตรายที่ไม่เชิงกล

          6.3 อันตรายจากไฟฟ้า

          6.4 อันตรายจากขดลวดความร้อนและความร้อน

          6.5 อันตรายจากสารเคมี

7. ข้อควรระวังจากการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรในประเภทต่าง ๆ

8. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

9. การสร้างจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน

          9.1 การควบคุมและทำความเข้าใจด้วยสายตา

9.2 การทำกิจกรรมตระหนักรู้ก่อนการใช้งาน

9.3 การตรวจความไม่ปลอดภัย และสิ่งที่ควรระวังในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรในการทำงาน

10. ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องมือและเครื่องจักร   

 Workshop: วิเคราะห์หาอันตรายเพื่อป้องกันการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรร่วมกัน

Workshop: ระดมสมองเพื่อสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน

11. สรุป  ถาม  ตอบ

 

รูปแบบการสัมมนา

  1. การบรรยาย                                                                        40 %
  2. กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม    50 %
  3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์                                                    10 %

 

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรในองค์การ ทุกระดับและบุคคลที่สนใจ

 

ระยะเวลาอบรม :

จำนวน 1 วัน ต่อ 1 รุ่น ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.

ผู้เข้าอบรมไม่เกิน 30-35 ท่าน ต่อรุ่น

Visitors: 155,018