หลักสูตร การจัดการเพื่อลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero-Defect Management)
หลักการและเหตุผล
Poka-Yoke – ระบบป้องกันความผิดพลาด ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้านานาชนิดบ่อยครั้งมักเกิดสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือเกิดเป็นของเสียขึ้นซึ่งบางครั้งของเสียเหล่านั้นอาจเล็ดลอดผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพทางงานสถิติ(Statistical Quality Control) จากการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบไปสู่ลูกค้าได้ซึ่งมีผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และต้องทำการแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านั้น (Rework) ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นไปอีกเทคนิคหนึ่งทางด้านปรับปรุงคุณภาพและมุงมั่นสู่ของเสียเป็นศูนย์ (Zero-Defect) นั้นคือ การใช้ระบบ POKA-YOKE ซึ่งเป็นระบบป้องกันความผิดพลาด ที่มีรากฐานมาจากภาษาญี่ปุ่น
POKA คือ ความผิดพลาดจากการไม่เอาใจใส่
YOKE คือ ป้องกัน/ไม่ให้เกิด/หลีกเลี่ยง
หรือที่เรียกกันเป็นที่แพร่หลายว่าระบบป้องกันความผิดพลาดจากการพลั้งเผลอหรือใช้คำว่า Error- Proofing ซึ่งระบบ POKA-YOKE นี้ ควบคุมให้งานในกระบวนการมีความถูกต้องมากที่สุดก่อนที่จะสามารถผ่านไปสู่กระบวนการต่อไป โดยความผิดพลาดที่เกิดจากเครื่องจักรนั้นไม่ค่อยน่าเป็นห่วงมากนักเพราะวิศวกรที่ได้ออกแบบเครื่องจักรนั้นมักออกแบบให้ได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่ง ส่วนมากที่มีปัญหาในการผลิตคือคนแต่ถ้าเราออกแบบให้ดีตั้งแต่ต้นปัญหาต่างๆ เช่นของเสีย หรือปัญหาที่เกิดจากคนก็จะหมดไปทำให้ประหยัดค่าอบรมซ้ำๆและค่าความเสียหายที่เกิดจากของเสียเป็นต้น
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของการเพิ่มผลผลิตด้วย หลักการของระบบป้องกันความผิดพลาดหรือ Poka Yoke
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและ
ทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
หัวข้อการอบรม :
- เรียนรู้การควบคุมคุณภาพของเสียเป็นศูนย์ (ZQC)
- เรียนรู้อะไรทำให้เกิดของเสีย
- เรียนรู้ระบบ Poka Yoke
- เรียนรู้วิธีการใช้งานระบบ Poka Yoke
- เรียนรู้เทคนิคแก้ไขปัญหาและวิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้ถึงเทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม (QC7tools, PDCA)
- กรณีศึกษาและตัวอย่างระบบ Poka Yokeเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
- สรุป ถาม ตอบ
รูปแบบการสัมมนา :
- การบรรยาย 40 %
- กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50 %
- กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %
กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรในองค์การ ทุกระดับและบุคคลที่สนใจ
ระยะเวลาอบรม :
- จำนวน 1 วัน ต่อ 1 รุ่น ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.
- ผู้เข้าอบรมไม่เกิน 30-35 ท่าน ต่อรุ่น