หลักสูตร TPM การบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total productive maintenance)
หลักการและเหตุผล :
การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) เป็นระบบการบำรุงรักษาที่ต้องการให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม ช่วยเหลือ ผลักดัน ให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตที่สูงที่สุด โดยที่คุณลักษณะอย่างหนึ่งของ TPM คือการที่ฝ่ายผลิตและบุคลากรของฝ่ายผลิตสามารถปกป้องและดูแลรักษาเครื่องจักรของตนเองได้ หรือที่เรียกว่า AUTONOMOUS MAINTENANCE หรือการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นเสาหลักที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินการ TPM
หลักสูตรนี้ จะเน้นที่การทำความเข้าใจกับแนวคิดและความสำคัญของ TPM และบทบาทหน้าที่ของฝ่ายผลิตในการบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายทั้งทางด้าน การผลิตและทางด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักร ตามแนวคิดการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมซึ่งหนึ่ง ในเสาหลักที่สำคัญคือ การดูแลรักษาด้วยตนเอง AUTONOMOUS MAINTENANCE (JISHU HOZEN) มีแนวคิดการดำเนินการ 7 ขั้นตอนเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในองค์กร โดยที่พนักงานประจำเครื่องมีสามารถในการดูแลรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองได้ ตั้งแต่การทำความสะอาดเพื่อค้นหาข้อบกพร่อง การสามารถปรับปรุงแก้ไข เบื้องต้นแบบง่ายๆได้เอง การกำหนดวิธีการทำความสะอาด หล่อลื่น ตรวจสอบเครื่องจักร เบื้องต้นได้ จะมีส่วนช่วยให้กระบวนการผลิตมีความสูญเสียต่างๆ ที่ลดลง สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ต้นทุนต่ำ และส่งมอบได้ตรงเวลา โดยหลักสูตรนี้พนักงานจะได้ศึกษาและปฏิบัติ การดูแลรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ตั้งแต่การทำความสะอาดเพื่อค้นหาข้อบกพร่อง , การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้กลับสู่สภาพเดิม, การสร้างแนวทางการดูแลเครื่องจักรมีการทำความสะอาด หล่อลื่น ตรวจสอบ ซึ่งกุญแจสำคัญ คือ “การทำความสะอาด คือ การตรวจสอบ” และ “ค้นหาจุดบกพร่องทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น”เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางการพัฒนาความสามารถบุคลากรและสร้างความเชื่อมั่นในการ ทำงานของเครื่องจักร เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายของบริษัท นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และสร้างผลกำไรให้แก่บริษัทอีกด้วย
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อสร้างความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
- เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม TPM อย่างเป็นระบบ
- เพื่อสร้างแนวทางในการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาคุณภาพ อย่างเป็นมีรูปแบบ
- เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี - เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม
หัวข้อการอบรม :
- เรียนรู้องค์ประกอบของธุรกิจ ต้นทุน กำไร และรายได้
- เรียนรู้การลดต้นทุนการผลิต จากการทำงานประจำวัน
- เรียนรู้การมองปัญหาของแต่ละบุคคล
- เรียนรู้บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานฝ่ายผลิตในสายงานซ่อมบำรุง
- เรียนรู้ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียในกระบวนการผลิต
- เรียนรู้การบำรุงรักษาแบบ TPMคืออะไร และความจำเป็นในการทำกิจกรรม TPM
- เรียนรู้หลักการบำรุงรักษาด้วยตนเองที่นำไปประยุกต์ใช้งาน
- เรียนรู้แนวทางการปฏิบัติการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
- เรียนรู้แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้นตอนของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
- เรียนรู้หลักการในสัญลักษณ์ภาพ (Visual Control)
- เรียนรู้กรณีศึกษาจากกิจกรรม Seiso – Inspection และกรณีศึกษาจากตัวอย่างจริง
- Workshop1 การฝึกเขียนลำดับขั้นการทำงานและการวิเคราะห์จากงานตัวอย่าง เพื่อปรับปรุงการทำงาน
- Workshop2 การรวมตัวเพื่อสร้างกลุ่ม TPM ในการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง แบ่งผู้เข้าสัมมนาออกเป็น 5 กลุ่มย่อย นำเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในโรงงานมาทำกรณีศึกษา และนำเสนอผลงานแต่ละกลุ่มอภิปรายแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
12. สรุป ถาม ตอบ
รูปแบบการสัมมนา :
- การบรรยาย 40 %
- กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50 %
- กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %
กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรในองค์การ ทุกระดับและบุคคลที่สนใจ
ระยะเวลาอบรม :
- จำนวน 1 วัน ต่อ 1 รุ่น ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.
- ผู้เข้าอบรมไม่เกิน 30-35 ท่าน ต่อรุ่น