หลักสูตร การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน (Work Safety Awareness)

หลักการและเหตุผล :

       สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการขนย้ายเครื่องจักร ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจาก มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลง

       ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่างๆอันจะเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน  ซึ่งก็คือ สภาพการทำงานที่ถูกต้องโดยปราศจาก "อุบัติเหตุ" ในการทำงานนั่นเอง หลักสูตรนี้จึงได้ถูกออกแบบให้สร้างจิตสำนึกให้กับผู้เข้าอบรม เพื่อให้อุบัติเหตุในการปฏิบัติงานเป็นศูนย์  และลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย เพื่อลดผลกระทบ กระเทือนต่อการทำงาน ที่จะทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ จากการเกิดอุบัติเหตุ

 

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจถึงความสำคัญของความปลอดภัย
  2. เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดอุบัติเหตุ อย่างเป็นระบบ
  3. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ของความไม่ปลอดภัยอย่างเป็นมีรูปแบบ
  4. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน ด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการทำงานให้ปลอดภัยมากขึ้น 
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานให้เกิดความปลอดภัย 
  7. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

 

หัวข้อการอบรม :

  1. แนวโน้มอุบัติเหตุในการทำงานของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย
  2. ความหมายของความปลอดภัย
  • ความปลอดภัยคืออะไร
  • ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน

3.  สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน

  • โครงสร้างสาเหตุของการเกิดความไม่ปลอดภัย
  • การสังเกตงาน เพื่อหาความไม่ปลอดภัย

4.  แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ

  • การตรวจความปลอดภัยที่หน้างาน
  • การค้นหาจุดเสี่ยงและแนวทางการแก้ไข
  • การวิเคราะห์ความปลอดภัยที่หน้างานด้วยหลัก 3 จริง

5. กฎแห่งความปลอดภัยในการทำงาน

6. ประเภทของเครื่องจักรที่ทำให้เกิดอันตราย

  • อันตรายเชิงกล
  • อันตรายที่ไม่เชิงกล

7. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

8 . การสร้างจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน

  • 5ส เพื่อความปลอดภัย
  • การทำกิจกรรม KYT สำหรับงานซ่อมบำรุง
  • การตรวจความไม่ปลอดภัย
  • ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร   

9. Workshop: วิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และแนวทางป้องกันและแก้ไขเชิงรุก

10. Workshop: ฝึกสร้างจิตสำนึกหยั่งรู้ความปลอดภัยในการทำงาน

 

กลุ่มเป้าหมาย : ทุกตำแหน่ง ภายในองค์กร  ระดับหัวหน้างาน

 

รูปแบบการสัมมนา :

  • การบรรยายแบบมีส่วนร่วม                                                      40 %
  • กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม          60 %

 

ระยะเวลาอบรม :

  • จำนวน 1 วัน ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.
  •  ผู้เข้าอบรม 30-35 ท่าน  ต่อรุ่น
Visitors: 166,815